ศรช.บ้านดงบังตำบลหนองบ่อ

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

งานวิจัย


โครงร่างการวิจัย
1. ชื่อปัญหาการวิจัย
การเปรียบเทียบความสามารถการเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลม ก่อนและหลังการเรียนจากแบบฝึกทักษะการเขียน ของนักศึกษา ศรช.หนองบ่อ ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม

2. ความสำคัญของปัญหา
เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเขียนลายมือไม่สวยอ่านไม่ออก ไม่ชัดเจน โดยใช้แบบฝึกทักษะ การเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลมในการพัฒนาลายมือให้ดีขึ้น
เป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนในการฝึกทักษะการเขียนให้ดีขึ้น
เป็นยุทธวิธีที่ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นพื้นฐานของการจัดวางคำให้ถูกต้องตามมาตราตัวสะกด
3. วัตถุประสงค์การวิจัย
3.1 เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลม สำหรับนักศึกษา กศน.ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น
3.2 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลมก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการเขียน
4. ตัวแปรที่ศึกษา
-
5. นิยามคำศัพท์ฉพาะ
แบบฝึกทักษะ หมายถึง ชุดแบบฝึกการเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลมทั้งสระและพยัญชนะที่ใช้สำหรับการฝึกคัดลายมือ
ตัวอักษรไทยแบบตัวกลม หมายถึง ตัวอักษรทั้งสระและพยัญชนะของไทยแบบตัวกลม
การเรียนจากแบบฝึกทักษะการเขียน หมายถึง การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเข้ามาเป็นสื่อในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลมได้ดีขึ้น
นักศึกษาใช้ภาษาเขียนในการสื่อสารได้สวยงามชัดเจน
7. วิธีการดำเนินการวิจัย/วิธีดำเนินการแก้ปัญหา
7.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
ประชากร คือ นักศึกษา ศรช.หนองบ่อ จำนวน 41 คน
กลุ่มตัวอย่าง นักศึกษา ศรช.หนองบ่อ ที่มีผลการเขียน ลายมืออ่านไม่ออกไม่ชัดเจน จำนวน 5 คน
7.2 เครื่องมือที่ใช้
ก.เครื่องมือในการแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา
แบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลม
ข.เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
แบบประเมินผลก่อนและหลังการเรียน
7.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบ
 ฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลม
 การประเมินผลก่อนและหลังการเรียน
เก็บรวบรวมข้อมูลจาก
นักศึกษา ศรช.หนองบ่อ ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม จำนวน 5 คน
7.4 สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
-
8. แผนดำเนินการ
1. วางแผนและเขียนโครงร่าง 6 วัน
2. ปฏิบัติการตามแผน 20 วัน
3. เก็บข้อมูล 2 วัน
4. วิเคราะห์ 1 วัน
5. สรุปผลและเขียนรายงาน 3 วัน
9. ชื่อผู้ที่เสนอโครงการวิจัย
นางสาวกาญจนา สดใสญาติ

ประสบการณ์การเขียนโครงร่างวิจัย
ความรู้เรื่องการเขียนโครงร่างวิจัย
การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบความสามารถการเขียนตัวอักษรไทยแบบตัวกลม ก่อนและหลังการเรียนจากแบบฝึกทักษะการเขียน ของนักศึกษา ศรช.หนองบ่อ ต.หนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม
โดย นางสาวกาญจนา สดใสญาติ ตำแหน่งครูศูนย์การเรียนชุมชน
ตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
วันที่ 5 เดือนมกราคม พ.ศ. 2553
ขั้นตอนการปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ/ข้อพึงระวัง
 การเข้ารับการอบรมแนะแนววิธีการทำงานวิจัยจาก กศน.จ.นครพนม/อาจารย์วิทยากร
 ฝึกกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อหาปัญหาในการทำงานวิจัย
 นำหัวข้อของปัญหามาเข้าสู่กระบวนการเขียนงานวิจัย
 เขียนงานวิจัยตามรูปแบบที่ได้รับมา(ใบงาน)
 นำงานวิจัยมาเสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อชี้แนะและแก้ไขให้เป็นไปตามหลักการของการทำงานวิจัย
 วางแผน/ออกแบบ นวัตกรรม/สื่อ ที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาของงานวิจัย
 ศึกษารูปแบบของแบบฝึกเขียน
 รวบรวมข้อมูล
 ประยุกต์แบบฝึกให้เหมาะสมกับการใช้ในกลุ่มศึกษา
 นำแบบฝึกมานำเสนอเพื่อขอคำแนะนำ
 นำไปทดลองใช้
 การทำงานวิจัยนั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ปัญหาของแต่ละคนแต่ละสถานที่มีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบริบทของชุมชนนั้นๆ
 การทำงานเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วมีการแก้ไขปัญหาให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น นั้นก็เป็นรากฐานของงานวิจัยแล้วเพียงแต่บางครั้งอาจขาดกระบวนการ การรวบรวมข้อมูลให้มีความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร