ศรช.บ้านดงบังตำบลหนองบ่อ

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

ชุดแบบฝึกการคัดลายมือ

แบบฝึกทักษะการคัดลายมือของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหนองบ่อ ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการของนักศึกษาที่ต้องการ ได้พัฒนาทักษะทางด้านการเขียนโดยกำหนดกิจกรรมการฝึกไว้ 4 สัปดาห์ ในการใช้ฝึก



แบบฝึกทักษะการคัดลายมือของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลหนองบ่อ ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการของนักศึกษาที่ต้องการ ได้พัฒนาทักษะทางด้านการเขียนโดยกำหนดกิจกรรมการฝึกไว้ 4 สัปดาห์ ในการใช้ฝึก
แนวทางการฝึกในแต่ละกิจกรรมฝึกมีดังนี้
สัปดาห์ที่ ๑
กิจกรรมที่ ๑ ลากเส้นตามทิศทาง
กิจกรรมที่ ๒ ลากเส้นตามรอยประพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว
กิจกรรมที่ ๓ ลากเส้นตามรอยประสระทั้ง 32 ตัว
สัปดาห์ที่ ๒
กิจกรรมที่ ๔ - ๑๑ ลากเส้นเขียนสะกด
สัปดาห์ที่ ๓
กิจกรรมที่ ๑๒-๑๗ ลากเส้นฝึกเขียนคำ
สัปดาห์ที่ ๔
กิจกรรมที่ ๑๘ ลากเส้นฝึกเขียนคำเป็นประโยคและคัดลายมือ


แบบฝึกที่นักศึกษาจะเรียนต่อไปนี้ เป็นแบบฝึกที่นักศึกษาจะต้องปฏิบัติ
ด้วยตนเองตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
๑. ให้นักศึกษาศึกษากิจกรรมการฝึกปฏิบัติให้เข้าใจ
๒. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
๓. เมื่อนักศึกษามีปัญหาให้สอบถามครูผู้สอน
๔. เมื่อเริ่มเรียนนักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติแบบฝึกเขียน จนครบ
๕. ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติทุกกิจกรรม

เมื่อนักศึกษาผ่านการฝึกเขียนเรียบร้อยแล้ว จึงทำแบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
คำสั่ง ให้นักศึกษาคัดข้อความด้วยตัวบรรจงให้สวยงาม (10 นาที)
เคล็ดลับคู่บ้าน วิธีผัดผักให้เขียวกรอบ น่ากิน
วิธีทำ
1. ล้างผักให้สะอาดก่อน นำผักไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ 1 นาที
2. แล้วตักขึ้น แช่ในน้ำเย็นทันที ผักก็จะดูเขียวสด
3. แล้วจึงนำไปผัดอีกวิธี คือการตั้งกระทะใส่น้ำมันเปิดเตาแก๊สให้ไฟแรง พอน้ำมันร้อนจึงนำผักลงไปผัด
4. ผักจะดูเขียวสดน่ารับประทาน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ใบความรู้
การคัดลายมือ
ตัวอักษรไทยมีประวัติความเป็นมายาวนานมาก ตั้งแต่สมัยสุโขทัย และมีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ จนเป็นตัวเลขและตัวอักษรที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตัวอักษรไทยเป็นมรดก
ที่บรรพบุรุษสร้างไว้เพื่อแสดงความภาคภูมิใจในความเป็นเอกราช มีเอกลักษณ์และมีวัฒนธรรม
ของชาติมาตั้งแต่โบราณ การใช้ตัวอักษรและตัวเลขไทย โดยการเขียนให้ถูกต้องเป็นการอนุรักษ์
มรดกไทย สร้างความภาคภูมิใจในชาติ
การเขียนหนังสือ
การเขียนหนังสือ แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
๑. การเขียนบรรจง
๒. การเขียนหวัดแกมบรรจง (ใช้เขียนในชีวิตประจำวัน)
การเขียนบรรจง
การเขียนบรรจงเป็นการเขียนเพื่อเน้นความชัดเจนในการสื่อสาร และความสวยงามของตัวอักษร
การเขียนจะมุ่งเน้นการประณีตงดงาม ถูกต้องตามรูปแบบและอักขรวิธี การเว้นวรรคตอน ช่องไฟ รวมถึง
ความสะอาด สวยงาม การเขียนประเภทนี้ จะมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การประกวดคัดลายมือ การเขียน
เกียรติบัตรต่าง ๆ การเขียนหนังสือสำคัญ ๆ เป็นต้น
หลักการเขียนบรรจง
๑. จับดินสอ ปากกา วางกระดาษ วางมือและท่าทางการเขียนให้ถูกต้อง
๒. เขียนตัวอักษรทั้งสระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายต่าง ๆ รวมทั้งตัวเลขถูกต้องตามรูปแบบ
๓. เขียนตัวอักษรจากหัวไปหางเสมอ
๔. การเขียนหัวตัวอักษร มี ๒ แบบ คือ แบบหัวกลม กับรูปดอกบัวตูม (แบบอาลักษณ์) เมื่อเขียน
แบบหนึ่งแบบใดแล้ว ก็ให้เขียนเป็นแบบเดียวกันไปตลอด
๕. สัดส่วนตัวอักษร ส่วนสูงของตัวอักษรแบ่งได้ ๔ ส่วน ความกว้างของตัวอักษรตามปกติ
จะไม่เกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง ตัวอักษรใดที่มีหัวอยู่แนวบนของบรรทัด หัวจะอยู่ที่ส่วน
ที่ ๑ ตัวอักษรที่มีหัวอยู่แนวล่างของบรรทัด หัวจะอยู่ที่ส่วนที่ ๔ ส่วนตัวอักษรที่มีหัวอยู่ตรงกลาง
ตัวอักษร หัวจะอยู่ในส่วนที่ ๒
๖. การเขียนไส้ตัวอักษร ไส้ตัวอักษรจะเขียนอยู่เสมอเส้นกึ่งกลางของส่วนสูง เว้นแต่ไส้ของ
ตัว ฟ เท่านั้นที่เขียนเสมอหัวอักษร
การเขียนหวัดแกมบรรจง
หลักการเขียนหวัดแกมบรรจง
๑. เขียนหนังสือให้คงที่ คือรักษารูปลักษณะลายมือให้เป็นแบบเดียวกันตลอด ไม่ใช่โย้
หน้าบ้างตัวตรงบ้าง โย้หลังบ้าง ตามแต่อารมณ์ ตามธรรมดาคนเราจะเขียนหนังสือเอียงไปทางขวามือเล็กน้อยหากใครจะเขียนหนังสือตั้งฉากกับบรรทัดก็ได้ แต่ทว่าการเขียนหนังสือให้เอนมาทางซ้ายอย่างที่เรียกว่าโย้หน้านั้น ตามหลักการเขียนไม่นิยม
๒. เขียนอักษรให้อ่านง่ายและมีหัวชัดเจน หลักการเขียนหนังสือโดยทั่วไป คือ เขียนหนังสือ
จากหัวไปหาง ตัวหนังสือจะอ่านง่ายขึ้น ถ้าเขียนมีหัวให้สังเกตชัดเจน คนที่เขียนหนังสือไม่มีหัวหรือ
ที่เรียกกันว่า “หัวบอด” นั้น นอกจากจะผิดหลักการเขียนอักขรวิธีแล้ว ยังอ่านยากและทำให้เข้าใจผิดได้
โดยเฉพาะอักษรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น ด, ค, ก, หรือ ถ เป็นต้น
๓. เขียนอักษรทีละตัว อย่าเขียนตัวอักษรติดกันไปตลอด หรือหลายคำ เช่น คำว่า ทาน หรือ พาน
ถ้าเขียนโดยไม่ยกมือเลยจะมีลักษณะคล้ายกันมาก ทำให้อ่านยาก คำอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ต้องระมัดมะวัง
ในเรื่องเหล่านี้ด้วย
๔. เขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้องตามพจนานุกรม
๕. เขียนให้จบคำในบรรทัด อย่าเขียนหนังสือแยกคำ เช่น นา-ฬิกา ความ-รัก ประชา-ชน รูป-ถ่าย
หนังสือแบบ-เรียน อยู่คนละบรรทัด ถึงจะใช้ยัติภังค์เชื่อมก็ไม่ถูกต้อง
๖. การเขียนสระกำกับ สระที่เขียนไว้บนตัวอักษร เช่น สระอิ สระอี เขียนให้มี
ความกว้างเท่ากับความกว้างของตัวอักษร
การเขียนฝนทอง ฟันหนู นั้นเขียนขีดลงไม่ใช่ขีดขึ้น และจะเขียนอยู่ตรงกับ
เส้นหลังตัวอักษร
การเขียนวรรณยุกต์ เขียนไว้ตรงเส้นหลังตัวอักษร สระที่เขียนข้างล่างคือ สระอุ สระอู
ก็เช่นเดียวกัน ถ้าอักษรนั้นมีหางยาว จึงให้เลื่อนวรรณยุกต์หรือสระนั้น ๆ ไปข้างหน้าพองาม
โดยไม่เกินครึ่งหนึ่งของความกว้างตัวอักษร
๗. การเขียนหางตัวอักษร ตัวอักษรที่มีหางยาว เช่น ป ฟ หางของตัวอักษรจะยาว
ไม่เกินครึ่งหนึ่งของความสูงตัวอักษร ถ้ายาวเกินครึ่งหนึ่งจะกลายเป็นการเขียน “เล่นหาง”
๘. การเขียนวน เช่น การเขียนเลขศูนย์ หรือ สระอำ ต้องเขียนวนจากซ้ายไปขวา
๙. การเขียนเครื่องหมายต่าง ๆ และตัวเลข เขียนขนาดครึ่งหนึ่งของตัวอักษร

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคัดลายมือ
การคัดลายมือนั้นจะต้องมีปัจจัยทางร่างกายหลายอย่างประกอบกัน ดังนี้
๑. มือ การพัฒนากล้ามเนื้อก็เป็นส่วนสำคัญต่อการคัดลายมือ เด็กบางคนไม่สามารถ
บังคับกล้ามเนื้อมือให้เขียนตัวอักษรได้ บางคนมือพิการก็ทำให้เขียนไม่ถนัด หรือไม่สามารถเขียนได้ การเขียนต้องใช้มือเป็นประการสำคัญ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฝึกกล้ามเนื้อมือด้วย
๒. ตา การคัดลายมือจำเป็นต้องใช้สายตาดูแบบตัวอักษร และใช้สายตาดูตัวอักษรว่า
เหมือนแบบหรือไม่ สำหรับเด็กที่มีการพัฒนาการทางสายตาไม่เจริญตามปกติ จะมองภาพกลับกันกับภาพจริงคือมองตัวอักษรกลับหัวบ้าง กลับตัวบ้าง ดังนั้นเมื่อจะเขียนตัวอักษรก็เขียนกลับหัวตามสายตา จึงเกิด
การเขียนผิด เช่น “บ้าน” เขียนเป็น “บาน” เป็นต้น ดังนั้น สายตาก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเขียนเป็นอย่างยิ่ง
๓. ความสัมพันธ์ระหว่างดวงตากับกล้ามเนื้อมือ การเขียนต้องอาศัยตามอง เพื่อรับเข้าและ
ใช้มือแสดงสิ่งที่มองนั้น นอกจากนี้ตายังต้องมองสิ่งที่มือเขียน ว่ามีขนาดถูกต้องเหมือนแบบหรือ
เหมือนที่คิดไว้หรือไม่
หลักการเขียน
๑. นั่งตัวตามสบาย มือซ้ายแตะกระดาษ
๒. จับปากกาด้วยนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ พาดปากกาบนนิ้วกลาง ปากกาพ้นนิ้วประมาณ ๑ นิ้ว
๓. แสงสว่างเข้าทางด้านหน้า หรือด้านซ้ายมือ
๔. เริ่มเขียนจากหัวตัวอักษรก่อน ส่วน ก และ ธ เริ่มจากริมด้านซ้าย
๕. ตัวอักษรที่มีเชิงหรือความสูง เช่น ฎ ฐ ไ โ เขียนให้ลงล่างหรือขึ้นบนประมาณครึ่งหนึ่ง
ของตัวปกติ
๖. ตัวอักษรที่มีความกว้าง เช่น ณ ญ จะกว้างกว่าตัวอักษรปกติครึ่งส่วน
๗. เว้นช่องไฟระหว่างตัวอักษร และระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากัน
๘. เว้นวรรคเล็กเท่าตัว ก วรรคใหญ่เป็นสองเท่าของตัว ก
๙. เว้นริมกระดาษทั้ง ๒ ข้างให้พอเหมาะ นิยมเว้นริมซ้าย ๑ นิ้ว ริมขวา ครึ่งนิ้ว
๑๐. เขียนตัวอักษรให้ถูกแบบ เป็นระเบียบ สะอาดและรวดเร็ว

ท่าทางการคัดลายมือการคัดลายมือ การจับดินสอ ปากกา ท่าทางต้อง
๑. การคัดลายมือ ต้องจับดินสอหรือปากกาให้ถูก ดินสอหรือปากกาจะอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้และนิ้วกลาง ส่วนนิ้วก้อยและนิ้วนางงอไว้ในฝ่ามือ
๒. การวางสมุด ให้วางสมุดตรง ๆ ไม่วางสมุดเอียงไปทางใดทางหนึ่ง
๓. การวางท่าในการเขียน ต้องนั่งตัวตรง ค้อมศีรษะเล็กน้อย สายตาห่างจากกระดาษ
ประมาณ ๑ ฟุต และเขียนด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายวางบนกระดาษที่เขียนเพื่อไม่ให้กระดาษ
เลื่อนไปมา



กิจกรรมที่ 1

การลากเส้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการเขียน

จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาลีลาในการลากเส้นต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานการเขียน
กิจกรรม สนทนาเกี่ยวกับเส้นต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานด้านการเขียน ลากเส้นตามทิศทางของลูกศร


กิจกรรมที่ 2

การลากเส้นพยัญชนะไทย ก–ฮ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับพยัญชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว ที่เป็นพื้นฐานการเขียนภาษาไทย
2. ให้นักศึกษาลากเส้นตามรอยประพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว (ตามกลุ่มพยัญชนะ)


กิจกรรมที่ 3

การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับสระทั้ง 32 ตัว ที่เป็นพื้นฐานการเขียนภาษาไทย
2. ให้นักศึกษาลากเส้นตามรอยประสระทั้ง 32 ตัว


กิจกรรมที่ 4
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่กง
2.ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำ แม่กง คำในแม่กง เป็นคำที่มี ง สะกด

พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
ก -า ง กาง
ช -ิ ง ชิง
ย -ุ ง ยุง
ร โ - ง โรง
ก - อ ง กอง
ส เ –ี ย ง เสียง
ฟ เ –ื อ ง เฟือง
จ -ู ง จูง
ด -ึ ง ดึง

กิจกรรมที่ 5
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่กน
2.ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำแม่กน คำในแม่กน เป็นคำที่มี น สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
ก -า น กาน
ด -ิ น ดิน
ข -ุ น ขุน
ก โ - น โกน
ง - อ น งอน
ข เ –ี ย น เขียน
ร เ –ื อ น เรือน
จ -ู น จูน
ป -ื น ปืน
ด แ - น แดน



กิจกรรมที่ 6
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่กม
2.ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำ ในแม่กม เป็นคำที่มี ม สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
ง -า ม งาม
ร -ิ ม ริม
ล -ุ ม ลุม
ค โ - ม โคม
ย - อ ม ยอม
ส เ –ี ย ม เสียม
อ เ –ื อ ม เอือม
ต -ู ม ตูม
ย -ื ม ยืม
ถ แ - ม แถม
ท -ี ม ทีม



กิจกรรมที่ 7
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่เกย
2.ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำในแม่เกย เป็นคำที่มี ย สะกด

พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
ก -า ย กาย
ล -ุ ย ลุย
ก โ - ย โกย
ค - อ ย คอย
ด เ –ื อ ย เดือย
ค เ - ย เคย



กิจกรรมที่ 8
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่เกอว
2.ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำคำในแม่เกอว เป็นคำที่มี ว สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
ส -า ว สาว
ห -ิ ว หิว
จ เ –ี ย ว เจียว
ถ แ - ว แถว

กิจกรรมที่ 9
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่กก
2.ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำ ในแม่กก เป็นคำที่มี ก สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
ม -า ก มาก
ว -ิ ก วิก
ล -ุ ก ลุก
ล โ - ก โลก
ด - อ ก ดอก
ป เ –ี ย ก เปียก
ช เ –ื อ ก เชือก
ล -ู ก ลูก
ล -ึ ก ลึก
ต แ - ก แตก
ป -ี ก ปีก



กิจกรรมที่ 10
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่กด
2.ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำ คำในแม่กด เป็นคำที่มี ด สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
ข -า ด ขาด
ต -ิ ด ติด
ม -ุ ด มุด
ด โ - ด โดด
ย - อ ด ยอด
ข เ –ี ย ด เขียด
ช เ –ื อ ด เชือด
บ -ู ด บูด
ย -ึ ด ยึด
ด แ - ด แดด
ข -ี ด ขีด

กิจกรรมที่ 11
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ
จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่กบ
2.ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำ คำในแม่กบ เป็นคำที่มี บ สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
ห -า บ หาบ
ด -ิ บ ดิบ
ท -ุ บ ทุบ
อ โ - บ โอบ
จ - อ บ จอบ
ร เ –ี ย บ เรียบ
ก เ –ื อ บ เกือบ
ส -ู บ สูบ
ส แ - บ แสบ
จ -ี บ จีบ



กิจกรรมที่ 12
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ

จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่ ก กา
2.ให้นักศึกษา ฝึกเขียนคำแม่ ก กา

ภาษา พาที มี อะไร
ครู มี น้ำใจ นะ จ๊ะ
แม่ รอ พ่อ มา ไหว้ พระ
เจ้าป่า จะ ไป หา เทวดา
จำปี จำปา และ ยี่โถ
มะไฟ ช่อ โต ผลิ ใบ หนา
เรา จะ เพาะ อะไร ใน ไร่นา
ใคร พอ มี เวลา ให้ หา ดู


กิจกรรมที่ 13
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ

จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่ กก แม่ กน
2.ให้นักศึกษา ฝึกเขียนคำแม่ กก แม่ กน
นกกระจอก บอก ลูก ผูก รัก
ปีก หัก พราก สุข ทุกข์ โศก รู้สึก อยากออก นอก โลกบริจาค ยกเมฆ เกก
โกก วิหค นึก สนุก สุนัข บริโภค พญานาคโชคดี เชื้อโรค

วันจันทร์ ตะวัน ทัน เห็น ฝนเล่น รำฟ้อนบน ก้อนหิน นิทาน ตำนาน ย่าน แผ่นดิน รื่นริน อาหาร ปัญญา บุญคุณ บอล การบ้าน ปลาวาฬ ปฏิภาณ คำนวณพิการ กังวล รัชกาล อาการ บันดาล



กิจกรรมที่ 14
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ

จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่ กด แม่ กง
2.ให้นักศึกษา ฝึกเขียนคำแม่ กด แม่ กง

สมุด กระดาษ ชีวิต เปิด เกิด พืช สัตว์ ปรากฏ ลัด สะดุด กระโดด โลดเสียด ยอด ระบัด ประหยัด ยึด อาจราช จิต ญาติ อูฐ รถ ตำรวจ บัณฑิต


ลอง มอง ส่องแสง แสวง หวัง พลาง
นั่ง ฟัง ลุง นิ่ง หนึ่ง สอง ท่อง ถึง พึ่งพิง ซึ้ง สร้าง บางสิ่ง ยิ่งยง เพลง มุ้ง กุ้ง เพียง โลง ชัง ลัง กลองดัง แดง กล้อง เมือง หลวง คลอง ดวง

กิจกรรมที่ 15
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ

จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่ กบ แม่ เกอว
2.ให้นักศึกษา ฝึกเขียนคำแม่ กบ แม่ เกอว

พบ กบ หลบ แอบ แวบ วับ ควบ
ขับ ลับ ขอบ รอบ หุบ กรอบแกรบ
แบบ บาป ทับ ทุบ อบอ๊บ สรุป
งุบงิบ รูป ภาพ ธูป ยีราฟ โชคลาภ กราฟ


ข่าวคราว ข้าวขาว มะพร้าวแก้ว หง่าว ๆ
หนาว แล้ว แมวเหมียว พลิ้วแพร้ว
แพรวพราว น้าว เคียว บ่าว สาว
ก้าว เกี่ยว เรียว ดาว

กิจกรรมที่ 16
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ

จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ แม่ กม แม่ เกย
2.ให้นักศึกษา ฝึกเขียนคำแม่ กม แม่ เกย

ลม หอม ห้อม ห่ม ร่ม ริม ชม
แย้มยิ้ม อิ่มอารมณ์ กลมกล่อม เยี่ยมยาม ถาม ดมดอม ถนอม อ้อม อุ้มอิ่มเอม ล้ม เดิม สาม เตรียม เอื้อม


ยาย เอ๋ย เคย หมาย ขาย สร้อย สวยสาย บ่าย คล้อย คอย เรื่อย น้ำลายหลาย สาย หน่าย เนือย เฉื่อย ๆ
เชย ๆ เย้ย ยาย เปื่อย กล้วย เหนื่อย



กิจกรรมที่ 17
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประ

จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการสะกดคำ ห นำ คำที่มีไม้ทัณฑฆาต
2.ให้นักศึกษา ฝึกเขียนคำ ห นำ คำที่มีไม้ทัณฑฆาต
หล้า หยิบ หนังสือ หมาย หนี หญิง
หวาน หลุม หลาย หลัง หมด หวัง
เหยื่อ หลั่ง หยด หยาด หรือ เหลือบ
หลบ หว่าง

สัตว์ สมบูรณ์ เถาวัลย์ ศูนย์กลาง
สร้างสรรค์ สัมพันธ์ พระจันทร์ สุขสันต์
ประสบการณ์ วันจันทร์ วันศุกร์ วันเสาร์
วันอาทิตย์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ รถยนต์
พระสงฆ์ วอลเลย์ ประดิษฐ์ แพทย์
สหกรณ์ พาณิชย์ กษัตริย์ ไตรรงค์
อุตส่าห์ พืชพันธุ์

กิจกรรมที่ 18
การลากเส้นสระ ตามรอยเส้นประและคัดประโยค

จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน
กิจกรรม 1. สนทนาเกี่ยวกับการเขียนเป็นประโยค
2.ให้นักศึกษา ฝึกเขียนเป็นประโยคแล้วคัดประโยคลงในตารางด้วยตัวบรรจง

กบในกะลาครอบ
- คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น
ตัวอย่าง
"เธออยู่แต่ในบ้าน ทีวีก็ไม่ดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบอ่าน เหมือนกบในกะลาครอบ"

กรวดน้ำคว่ำขัน
- ตัดขาดไม่คบค้าสมาคนด้วยอีกต่อไป
ตัวอย่าง
"เพื่อนตัวแสบโกงเงินฉันไปเป็นแสนๆ ฉันน่ะกรวดน้ำคว่ำขันเลย"



ข้าวยากหมากแพง
- สภาวะขาดแคลนเกิดความอดอยาก
ตัวอย่าง
"สมัยสงครามข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยากล้มตายไปจำนวนไม่น้อย"

ข้าวใหม่ปลามัน
- อะไรที่เป็นของใหม่ถือว่าดี
ตัวอย่าง
"ได้หัวหน้างานคนใหม่อะไรก็ดีไปหมด กำลังข้าวใหม่ปลามัน"

คว่ำบาตร
- ประกาศไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วยไม่ร่วมงานด้วย
ตัวอย่าง
"สหประชาชาติประกาศคว่ำบาตรประเทศนั้นกรณีลุกลามประเทศอื่น”

คาบลูกคาบดอก
-ไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไหน ก่ำกึ่งกันอยู่
ตัวอย่าง
"นักกีฬาคนนั้นชอบเตะฟุตบอลคาบลูกคาบดอกคือเตะทั้งลูกทั้งคน "

แบบทดสอบหลังเรียน
คำสั่ง ให้นักศึกษาคัดข้อความด้วยตัวบรรจงให้สวยงาม (10 นาที)
เคล็ดลับคู่บ้าน วิธีผัดผักให้เขียวกรอบ น่ากิน
วิธีทำ
1. ล้างผักให้สะอาดก่อน นำผักไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ 1 นาที
2. แล้วตักขึ้น แช่ในน้ำเย็นทันที ผักก็จะดูเขียวสด
3. แล้วจึงนำไปผัดอีกวิธี คือการตั้งกระทะใส่น้ำมันเปิดเตาแก๊สให้ไฟแรง พอน้ำมันร้อนจึงนำผักลงไปผัด
4. ผักจะดูเขียวสดน่ารับประทาน

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


แบบประเมินการคัดลายมือ
ชื่อ......................................................
นามสกุล.........................................................

ที่ รายการประเมิน คะแนนเต็ม ที่ได้
1 ความสวยงาม 30
1.1 ตัวหนังสือระดับเดียวกัน 6
1.2 ตัวหนังสือเป็นระเบียบแบบเดียวกัน 6
1.3 หัวไม่บอด 6
1.4 การวางสระ 6
1.5 การวางวรรณยุกต์ 6
2 ความสะอาด 20
3 ความเป็นระเบียบ 30
3.1 การเว้นวรรคตอน 9
3.2 การวางรูปแบบ 7
3.3 การย่อหน้า 7
3.4 การเขียนไม่ฉีกคำ 7
4 คัดลอกข้อความได้ถูกต้องครบถ้วน 20
รวมคะแนน 100

เกณ์การประเมิน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
คะแนน 50-100 = ผ่านเกณฑ์
คะแนนต่ำกว่า 50 = ไม่ผ่านเกณฑ์
หมายเหตุ หรือคะแนนในแต่ละรายการประเมินต้องไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์




แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ให้นักศึกษาเขียนสะกดคำ แม่กง คำในแม่กง เป็นคำที่มี ง สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
-า
-ิ
-ุ
โ -
- อ
เ –ี ย
เ –ื อ
-ู
-ึ

ให้นักศึกษาเขียนสะกด คำในแม่กน เป็นคำที่มี น สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
-า
-ิ
-ุ
โ -
- อ
เ –ี ย
เ –ื อ
-ู
-ื
แ -


ให้นักศึกษาเขียนสะกด คำ ในแม่กม เป็นคำที่มี ม สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
-า
-ิ
-ุ
โ -
- อ
เ –ี ย
เ –ื อ
-ู
-ื
แ -
-ี

ให้นักศึกษาเขียนสะกด คำ ในแม่เกย เป็นคำที่มี ย สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
-า
-ุ
โ -
- อ
เ –ื อ
เ -







ให้นักศึกษาเขียนสะกด คำ ในแม่เกอว เป็นคำที่มี ว สะกด

พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
-า
-ิ
เ –ี ย
แ -

ให้นักศึกษาเขียนสะกด คำ ในแม่กก เป็นคำที่มี ก สะกด

พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
-า
-ิ
-ุ
โ -
- อ
เ –ี ย
เ –ื อ
-ู
-ึ
แ -
-ี






ให้นักศึกษาเขียนสะกด คำ ในแม่กด เป็นคำที่มี ด สะกด
พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
-า
-ิ
-ุ
โ -
- อ
เ –ี ย
เ –ื อ
-ู
-ึ
แ -
-ี

ให้นักศึกษาเขียนสะกด คำ ในแม่กบ เป็นคำที่มี บ สะกด

พยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด คำ
-า
-ิ
-ุ
โ -
- อ
เ –ี ย
เ –ื อ
-ู
แ -
-ี


แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ให้นักศึกษาเขียนสะกด คำ ในแม่ ก กา แม่กก แม่กน แม่กด แม่กง แม่กบ แม่เกอว แม่กม แม่เกย คำ ห นำ คำที่มีไม้ทัณฑฆาต มาอย่างละ 5 คำ



แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ให้นักศึกษา แต่งประโยคด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดมา 10 ประโยค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น